หลักการและเหตุผล

ปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเมืองหลักในภูมิภาค เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สาเหตุสำคัญของปัญหาจราจรเกิดจากการเจริญเติบโตของเมืองแบบศูนย์กลางเดียว แหล่งงานกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองชั้นใน ขาดระบบขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพและไม่ครอบคลุมพื้นที่เมืองอย่างทั่วถึง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานในการวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจร (Traffic Impact Assessment: TIA) ให้ทันต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาที่ดินหรือการดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปัญหาการจราจร หากไม่มีการกำหนดมาตรฐานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจร จะทำให้การพัฒนาโครงการต่างๆ ไม่มีการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งไม่มีการกำหนดแผนงาน โครงการ หรือมาตรการที่จะมารองรับปริมาณการเดินทาง ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาด้านการจราจร

  สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม (คค.) จึงเห็นสมควรศึกษาจัดทำมาตรฐานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจร เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการลดผลกระทบด้านการจราจร โดยการพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการขออนุมัติก่อสร้างโครงการ ระหว่างการก่อสร้าง และมาตรการหลังการก่อสร้างโครงการ ให้มีผลกระทบต่อการจราจรและขนส่งที่น้อยที่สุด รวมถึงการศึกษาด้านการบริหารจัดการเพื่อนำมาตรฐานดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม






วัตถุประสงค์

1. จัดทำมาตรฐานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจร คู่มือการนำมาตรฐานไปใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจร กำหนดค่าดัชนี ตัวแปร ที่ต้องใช้เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจร รวมทั้งเสนอแนะข้อกฎหมาย ระเบียบ เพื่อเป็นแนวทางนำการวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจรนำไปสู่การปฏิบัติ
2. จัดทำข้อเสนอแนะสนับสนุนทางวิชาการในการเสนอแนะนโยบายและหรือแผนการจัดระบบการจราจร
3. เพิ่มพูนความรู้และศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการวิเคราะห์และวางแผนการระบบการจราจรและขนส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ของ สนข. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง




ขอบเขตการศึกษา

1. งานศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านการดำเนินงานผลกระทบด้านการจราจร (Traffic Impact Assessment) ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. งานสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ค่าดัชนี ตัวแปร พารามิเตอร์ที่จำเป็นต้องใช้กับการศึกษาผลกระทบด้านการจราจร เพื่อเสนอแนะค่าที่เหมาะสมให้ความครบถ้วน
3. จัดทำมาตรฐานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจร คู่มือการนำมาตรฐานไปใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจร รวมทั้งเสนอแนะข้อกฎหมาย ระเบียบ เพื่อเป็นแนวทางนำการวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจรนำไปสู่การปฏิบัติ
4. การสนับสนุนทางวิชาการในการเสนอแนะนโยบายและแผนการจัดระบบการจราจร
5. การเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการวิเคราะห์และวางแผนระบบการจราจรและขนส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ของ สนข. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง






ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านการดำเนินงานผลกระทบด้านการจราจร (Traffic Impact Assessment)
2. สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ค่าดัชนี ตัวแปร พารามิเตอร์ที่จำเป็นต้องใช้กับการศึกษาผลกระทบด้านการจราจร
3. จัดทำมาตรฐานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจร คู่มือการนำมาตรฐานไปใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจร รวมทั้งเสนอแนะข้อกฎหมาย ระเบียบ
4. เสนอแนะนโยบายและแผนการจัดระบบการจราจร
5. เพิ่มพูนความรู้และศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการวิเคราะห์และวางแผนระบบการจราจรและขนส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ของ สนข. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง